จัดทำโดย

นายวรวิช ภูนาเพชร เลขที่ 5
นางสาวสายสวรรค์ เพ็งเก่ง เลขที่ 20
นางสาววิสิตา เอกสะพัง เลขที่ 33

บทที่ 1

บทนำ 

1.1 ที่มาและความสำคัญ

         ทดลองความสามารถในการปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาของใบขี้เหล็ก ใบมะเฟือง ใบมะยม ใบฝรั่ง โดยการนำเอาใบขี้เหล็ก ใบมะเฟือง ใบมะยม ใบฝรั่ง มาชั่งให้ได้ 100 เท่า ๆ กัน แล้วนำไปทดลองการเปลี่ยน pH ของน้ำปูนซีเมนต์ โดยการนำพืชทั้ง 4 ชนิดนี้แช่ลงไปในน้ำแต่ละถัง ผลปรากฏว่าใบขี้เหล็กเป็นตัวที่เปลี่ยน pH ของน้ำได้ดีที่สุด โดยดูจากตัวเลขจาก pH meter เมื่อรู้ว่าใบขี้เหล็กเป็นตัวปรับ pH ของน้ำปูนซีเมนต์ได้ดีที่สุด ก็ทดลองต่อไปโดยใช้ใบขี้เหล็กอย่างเดียวแต่ใช้น้ำหนักต่างกันคือ 100 g, 150 g, 200 g และระยะเวลาที่แช่เท่ากันคือ 2 วัน และทดลองต่อไปอีกโดยใช้น้ำหนักใบขี้เหล็กอย่างเดียวคือ 250 แต่ใช้เวลาที่แช่ต่างกันคือ 2 วัน 4 วัน 6 วัน 8 วัน 10 วัน ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ 2-6 วัน จากนั้นนำผลการทดลองที่ได้จากห้องทดลองไปทดลองในบ่อปลาที่สร้างเสร็จใหม่ โดยใช้ใบขี้เหล็ก 10 กิโลกรัมแช่ลงในบ่อที่สร้างเสร็จใหม่ ทิ้งไว้ระยะเวลา 6 วัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ใบขี้เหล็กเป็นตัวปรับ pH ของน้ำปูนซีเมนต์ได้ดีที่สุด จาก pH ก่อนการทดลอง 11.0 กลายเป็น pH หลังการทดลองคือ 7.2 ก็สามารถที่จะนำปลาหรือกบมาเลี้ยงได้ โครงงานเรื่องนี้ สามารถเป็นแนวทางไปใช้กับบ่อปลาที่สร้างเสร็จใหม่ เพื่อจะได้ลดระยะเวลาที่แช่น้ำในบ่อได้เหลือ 4-6 วัน จาก 1-2 เดือน และยังประหยัดน้ำอีกด้วย 

1.2 วัตถุประสงค์

      1.2.1 เพื่อลดค่าpHในบ่อปลา

      1.2.2 เพื่อลดปริมาณค่าpHในบ่อปลา

      1.2.3 เพื่อป้องกันการตายของปลา

1.3 ขอบเขตการศึกษา

                   อาคารบ้านเรือน

1.4 สมมติฐาน

      ใบขี้เหล็ก ใบมะยม ใบกล้วยแห้ง สามารถลดค่า PH ในบ่อปลาได้

 

1.5 ตัวแปรที่ศึกษา

      ตัวแปรต้น        =   ใบขี้เหล็ก ใบมะยม ใบกล้วยแห้ง

      ตัวแปรตาม       =  สามารถลดค่าpHในบ่อปลา

      ตัวแปรควบคุม   =   พื้นที่   ระยะเวลา ขนาดของบ่อปลา ปริมาณของใบขี้เหล็ก ใบมะยม ใบกล้วยแห้ง

 

1.6 นิยามเชิงปฏิบัติการ  

2.1ใบขี้เหล็ก

    ขี้เหล็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna siamea) จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น

              ในปี พ.ศ. 2485 ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นขี้เหล็ก พบว่าใบและดอกขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงงัม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าสามารถสกัดสารชนิดใหม่จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่าบาราคอล (barakol) ซึ่งมีฤทธิ์กล่อมประสาทและลดความกังวล แต่ภายหลังมีการพบว่ามีพิษต่อตับด้วยเช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 

2.2ใบมะยม

    มะยม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus) ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียใต้และอเมริกันเขตร้อน

2.3ใบตองแห้ง

    ใบตอง คือใบของต้นกล้วย มีการนำมาใช้หลากหลาย เพราะมีขนาดใหญ่ ยืดหยุ่น กันน้ำและสามารถนำมาตกแต่งได้ มีการใช้ใบตองในการทำอาหาร ห่ออาหารและเป็นภาชนะอาหารอย่างกว้างขวางในประเทศเขตร้อนชื้นหรือกึ่งเขตร้อนชื้น มีการนำมาใช้ตกแต่งและใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมความเชื่อของฮินดูและพุทธ ในบ้านดั้งเดิมของเขตร้อนชื้น มีการนำมาใช้ทำหลังคาหรือรั้ว โดยทำมาใช้ใบตองแห้ง แต่เดิมใบตองและใบต้นปาล์ม เป็นพื้นผิวที่ใช้สำหรับเขียนในหลายประเทศของอเมริกาใต้และอเมริกาตะวันออกเฉียงใต้

2.4ปลาสวยงาม

ลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (อังกฤษ: Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื่อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลาบ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิตติกรรมประกาศ

         โครงงานเรื่องนี้ประกอบด้วยการ ดําเนินงาน หลายขั้นตอน นับตั้งแต่การศึกษาหาข้อมู ล  ทดลอง การวิเคราะห์ผลการทดลอง   การ จัดทํา โครงงาน...